(C2C) Consumer to Consumer คืออะไร.

Consumer-to-Consumer หรือ C2C)

c2c-blocks

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ C to C

ลูกค้ากับลูกค้า (Consumer to Consumer : C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

ตัวอย่าง เว็บไซต์  www.eBay.com

tyty

 

eBay คือชื่อเว็บและเครื่องหมายการค้าของ เว็บ http://www.eBay.com ซึ่งเป็นแหล่งประมูลออนไลน์ระดับโลก จัดตั้งมาตั้งแต่ปี 1995 เดือนกันยายน จนปัจจุบันก็ได้เข้าตลาดหุ้นไปนานแล้ว ตาม slogan ของเว็บไซต์ “The World’s Online Marketplace” ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ มีผู้คนแวะเวียนมาจับจ่ายวันละเป็นหลายหมื่นหลายแสนคน ในทุกๆ วินาที เลยที่เดียว มีสินค้าจบการประมูล และ ปิดการขายมากกว่า ล้านชิ้น ทุกๆ วินาที เช่นกัน จากทุกหมวดหมู่สินค้า ซึ่งมีกว่า พันหมวดหมู่ย่อย

อีเบย์ คือ ตลาดประมูลสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสินค้ามากถึง 14 ล้านชิ้น และมีสินค้าถูกประมูล 1,000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งมีสินค้าไทยได้ถูกขายออกไปแล้ว มากกว่า 1 ล้านชิ้น และมีคนไทยมีรายได้จากอีเบย์ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาทสำหรับที่มาที่ไปคำว่า eBay นั้นจริงๆแล้วย่อมาจากคำว่า Echobay เพราะเป็นชื่อบริษัทดั้งเดิมของเจ้าของอีเบย์ ตอนแรกจะจดชื่อว่า Echobay แต่พอเช็คกลับกลายมีคนจดไปแล้ว ทั้งๆที่ช่วงนั้นคนจดโดเมนน้อยมาก ก็เลยย่อมาเป็นeBay.com

การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า

มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น

  • เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)
  • ห้องสนทนา (Chat rooms)
  • อีเมล์ (E-mail)
  • FAQs (Frequent Answers and Questions)
  • ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)
  • ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)

การรักษาความปลอดภัย

ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)

  • ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
  • ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
  • ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
  • สิทธิส่วนบุคคล  (Privacy)
  • ความปลอดภัย (Safety)

วิธีการรักษาความปลอดภัย

  • การใช้รหัส (Encryption)
  • ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
  • โปรโตคอล (Protocols)

กฎข้อระเบียบ

  1. ผู้ขายในเมืองไทยต้องได้รับการยืนยันเลข 4 ตัวจาก PayPal เป็น Thai-Verified
  2. ชื่ออีเบย์และใน PayPal ต้องตรงกัน และทำเรื่องผูกกันได้ที่: คลิกที่นี่
  3. ห้ามขายของที่มี แบรนเนมลิขสิทธิ์ มีความเสี่ยงต่อการโดนระงับมากที่สุด

ข้อดี

*ลงสินค้าได้ไม่จำกัด ลงมากเท่าไหร่ก็ได้

*ค่าธรรมเนียมการลงสินค้าในร้านถูกกว่าแบบ auction – fixed price หลายเท่าตัวคือ 0.05 หรือ 0.20 ต่อชิ้นเท่านั้น อับเดท 2011

*สามารถตั้งเวลาได้ 30 หรือ ลงได้ตลอดไปจนกว่าจะขายออก (good till cancel) ลงได้ระยะยาวนาน คุ้ม

*สามารถแบ่ง categories สินค้าออกเป็นหมวดหมู่ ทำให้คนซื้อสะดวกเลือกสบายในการเลือกสินค้า

*มีความน่าเชื่อถือ คนซื้อจะมองว่าเราร้านใหญ่ มีสินค้า และมีความน่าเชื่อถือมากกว่ารายย่อยที่ไม่เปิดร้าน

ข้อเสีย

*ค่าธรรมเนียมการขายแพงมาก 10-12% ต่อการขายเลยทีเดียว

*ต้องทำให้ได้มาตรฐานของอีเบย์ คือต้องรักษาระดับคะแนนความพึงพอใจลูกค้า โดยเฉพาะร้านแบบ premiumจะต้องรักษาระดับสูงมากทำให้เราเครียด


ที่มา# http://ebs2u.blogspot.com/2012/07/consumer-to-consumer-c2c.html