(B2G) Business to Government คืออะไร.

ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B2G)

Print

หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเปิดประมูลผ่านทางเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (government procurement), การจดทะเบียนการค้า, การรายงานผลการประกอบการประจำปี, การสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่าง Website เช่น
การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ (www.mahadthai.com) และ ระบบอีดีไอในพิธีการกรมศุลกากร (www.customs.go.th)

B2G 

อินเทอร์เน็ตสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบ อีเมล์และเวิลด์ไวด์เว็บ ทำให้เกิดอีคอมเมิร์ซการสื่อสารผ่านเครือข่าย ได้รับการพัฒนาจนทำให้มี การประยุกต์ใช้งานข้อมูลข่าวสารได้มาก การเชื่อมโยงสื่อสารผ่านเครือข่ายมีลักษณะพิเศษหลายอย่าง โดยเฉพาะลักษณะที่ช่วยลดระยะทาง ไม่ขึ้นกับเวลา และเชื่อมเข้าหากันได้ทุกคน เทคโนโลยีด้านเครือข่าย จึงเป็นแรงผลักดันครั้งยิ่งใหญ่ต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการที่ธุรกรรมระหว่าง ธุรกิจก่อให้เกิดธุรกิจที่เรียกว่า B2B และกระจายต่อไปยังลูกค้าที่เรียกว่า B2C การให้บริการข้อมูลข่าวสารทำได้ง่าย มีต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่นและแพร่ กระจายได้กว้างขวาง ส่งผลให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งทางด้านการซื้อการขาย การทำธุรกรรม การผลิต การโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือการให้บริการ

เศรษฐกิจใหม่จึงเป็นเศรษฐกิจที่มีการปรับตัวเข้าสู่การนำไอทีมาใช้ในการดำเนินงาน ใช้ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทุกวันนี้เราเกี่ยวโยงกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก มีการเก็บข้อมูลในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การส่งผ่านสื่อสารระหว่างกัน จนทุกวันนี้ชีวิตประจำวัน จะยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สมกับการเกี่ยวโยงเข้าสู่ยุค “e”

ขณะนี้รัฐบาลได้ปรับการท้าทายต่อการปฏิรูประบบราชการ โดยเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินการแบบดั้งเดิม เข้าสู่โครงสร้างการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ บนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อเข้าสู่รูปแบบที่เรียกว่า รัฐอิเล็กทรอนิกส์

รัฐอิเล็กทรอนิกส์และวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารประเทศ          

การดำเนินกิจกรรมบนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานทางธุรกิจเริ่มจากอีคอมเมิร์ช การเติบโตของอีคอมเมิร์ชเป็นไปอย่าง รวดเร็วและกระจายออกไปในวงกว้าง หลังจากนั้นจึงเริ่มมองเห็นประโยชน์จากการดำเนินธุรกรรมร่วมกันระหว่างองค์กรต่อองค์กร จนเป็นที่รู้จักกันใน นาม B2B (business to business) ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวเรื่องอีบิสสิเนสมีหลายรูปแบบการดำเนินการ ทั้งแบบ B2B และ B2C ต่อมา ได้มีการดำเนินการบนเครือข่ายอีกสองแบบคือ B2Gหมายถึงการดำเนินการระหว่างธุรกิจองค์กรกับหน่วยราชการ และ G2C คือหน่วยราชการให้บริการ ประชาชน การดำเนินการของภาครัฐในรูปแบบรัฐอิเล็กทรอนิกส์จึงเกี่ยวโยงตั้งแต่แบบ B2B, B2C, B2G, G2C

รวมถึงการดำเนินกิจกรรมระหว่างภาครัฐ ด้วยกันเองคือ G2G ดังนั้นรัฐอิเล็กทรอนิกส์จึงผูกพันกันด้วยอิเล็กทรอนิกส์ โดยองค์กรรัฐบาลต้องปรับตัวให้เป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพื่อเป้าหมาย และบทบาทที่สำคัญต่อการเชื่อมโยงสู่ภาคเอกชนและประชาชน ด้วยเหตุนี้รัฐบาลของหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงมีเป้าหมายที่จะดำเนินการแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้โดยเร็ว เช่น           – รัฐบาลของออสเตรเลียได้ประกาศเป็นแผนของชาติที่จะให้หน่วยงานสำคัญของรัฐที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ ต้องให้บริการ ได้ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2001 และกิจกรรมต่าง ๆ ต้องเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเต็มที่

-รัฐบาลของแคนาดากำหนดให้หน่วยงานหลักของรัฐบริการแบบออนไลน์อย่างครบถ้วนภายในปี ค.ศ. 2001

-รัฐบาลฟินแลนด์ดำเนินการให้ประชาชนสามารถเรียกใช้เอกสารและแบบฟอร์มหลัก พร้อมส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเข้าสู่หน่วยงานรัฐได้ภายใน ปี ค.ศ. 2001

-รัฐบาลของฝรั่งเศสจัดการให้หน่วยงานของตน ที่ดำเนินการบริการข้อมูลต้องให้บริการข้อมูลเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ภายในสิ้นปี ค.ศ. 2000

-รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดเป้าหมายไว้ในปี ค.ศ. 2003 จะให้มีการยื่นแบบฟอร์มที่ดำเนินการกับรัฐและการลงทะเบียนต่าง ๆ ที่ประชาชนต้องทำสามารถ ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต

-สิงคโปร์เป็นประเทศหนึ่งที่สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้รองรับอย่างดี และจะดำเนินการแบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้การทำงานของภาครัฐบาล ภายในปี ค.ศ. 2001

-รัฐบาลอังกฤษกำหนดวิสัยทัศน์ กรอบความคิดต่าง ๆ รวมทั้งกรอบมาตรฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ ต้องดำเนินการภายใต้การชี้นำของหน่วยงานกลาง ที่ศึกษาวิเคราะห์ทิศทาง เรียกว่า Central IT Unit การดำเนินการแบบอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐจะต้องดำเนินการได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ภายปี ค.ศ. 2005

-สหรัฐอเมริกาก็ให้ความสนใจและมีความพร้อมสูงประเทศหนึ่ง เพราะประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกันส่วนใหญ่แล้ว สหรัฐอเมริกาจึงพัฒนาแนวทางและการให้บริการตามความต้องการของประชาชน โดยให้บริการการเข้าถึงข้อมูลและเอกสารของภาครัฐได้ทั้งหมด ภายในปี ค.ศ. 2003

สำหรับในประเทศไทย ตามทิศทางของไอที 2000 ที่คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ มีการชี้นำให้ปรับปรุงการดำเนินการและบริหารงาน ในองค์กรภาครัฐโดยใช้ไอทีเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการให้บริการข้อมูลข่าวสารอย่างโปร่งใสและทั่วถึง

แนวคิดของ B2G      

แนวคิดที่สำคัญในการดำเนินการของรัฐบาลคือช่วยและปรับปรุงองค์กรเอกชนให้ดำเนินการธุรกิจประสบความสำเร็จ สามารถดำเนินการให้บริการ องค์กรเอกชนแบบทุกหนทุกแห่งและทุกเวลา (any where and any time) ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้การติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ และการ ดำเนินการตามกฎระเบียบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ รวมทั้งสามารถก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ได้ ภารกิจสำคัญของรัฐที่จะทำให้ B2G สำเร็จลุล่วงประกอบด้วย

1.ช่วยดูแลและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ธุรกิจคือคอมเมิร์ชขององค์กรธุรกิจเอกชนประสบผลสำเร็จ การกระจายรูปแบบตลาดการค้าใน ยุคเศรษฐกิจใหม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต นโยบายของรัฐบาลไทยเน้นให้มีการผลิตในระดับหมู่บ้าน โดยได้วางนโยบาย กองทุนหมู่บ้าน ให้หมู่บ้านแต่ละแห่งมีสินค้าบริการหลัก การนำเสนอเข้าสู่ระบบโลกาภิวัตน์เป็นทางหนึ่งที่จะทำให้บุคคลภายนอกได้รู้จักกิจกรรมเหล่านี้ ด้วย กิจกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นหนทางของการกระจายการค้าให้กว้างขวางขึ้น           2.ช่วยทำให้การเริ่มกิจการและการดำเนินกิจการง่ายขึ้น นโยบายหลักของรัฐบาลไทยได้เน้นในเรื่อง SMEs การก้าวเข้าสู่ธุรกิจในอดีตเป็นเรื่องยาก แต่ด้วยเทคโนโลยีทำให้การเริ่มธุรกิจทำได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อมสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่การเชื่อมโยงธุรกิจตนเองกับธุรกิจอื่น การดูแล จัดการข้อมูลตลอดจนการติดต่อกับภาครัฐในการเริ่มกิจการก็เกิดขึ้นได้ง่าย

3.ช่วยกระจายกิจกรรมทางธุรกิจ ภารกิจส่วนนี้เน้นในเรื่องการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ดำเนินกิจกรรมได้แม้ว่าสถานที่ตั้ง มิได้อยู่ในเมือง รวมทั้งการทำงานบางอย่างสามารถทำงานจากที่ห่างไกลโดยผ่านเครือข่าย โดยเฉพาะวิธีการที่รัฐจะต้องกระตุ้นให้เกิดองค์กรหรือ บุคลากรที่สามารถทำงานแบบอิสระ (Freelance) และการทำงานแบบที่เรียกว่า Telework เน้นการทำงานร่วมกันโดยไม่มีอุปสรรคในเรื่องระยะทาง และเวลาลดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างธุรกิจในเมืองและต่างจังหวัด โดยลดข้อจำกัดของสภาพภูมิศาสตร์ เป็นการกระจายความเจริญเข้าสู่ชนบท และยกฐานะชาวชนบทให้ดีขึ้น

4.ช่วยทำให้บทบาททางการตลาดเข้าสู่ตลาดโลกในลักษณะ Virtual World Market การดำเนินงานของรัฐในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ตจะช่วยเปิดตัวธุรกิจโดยให้เข้าสู่ตลาดโลกได้ง่ายยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าสภาพของสินค้าไทยซึ่งยากที่จะแทรกตัวหรือเป็นที่รู้จักก็สามารถกระจาย เข้าสู่ตลาดแบบ Virtual ผ่านทางอินเทอร์เน็ต การตลาดในรูปแบบใหม่นี้ยังเป็นในรูปของการให้ข้อมูลข่าวสาร แนะนำสินค้า ตลอดจนสร้างกลไกประชา สัมพันธ์ให้ชาวโลกได้รู้จัก

5.ช่วยทำให้โครงสร้างโมเดลแบบธุรกิจสมัยใหม่ประสบผลสำเร็จ รัฐอิเล็กทรอนิกส์เน้นการดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน การดำเนินการตั้งแต่การเชื่อมโยง การยืนแบบ และการรับแบบเอกสารเพื่อการลงทะเบียนต่าง ๆ สามารถกระทำได้แบบออนไลน์ เช่น การยื่นแบบภาษี VAT แบบออนไลน์ การเชื่อมข้อมูลในภาครัฐเพื่อประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลประชากรตรวจสอบกำลังคน การสำเร็จการศึกษา รวมถึง การดำเนินธุรกรรมร่วมระหว่างภาครัฐกับเอกชน เช่น การจัดซื้อ เป็นต้น

ลักษณะของงาน B2G ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจหลัก    

งานการให้บริการของภาครัฐในลักษณะ B2G มีมากมายโดยเฉพาะกิจกรรมที่ธุรกิจต้องติดต่อกับภาครัฐ เช่น

1.การจัดซื้อของภาครัฐที่ต้องติดต่อกับเอกชน (eProcurement)

2.งานให้บริการข้อมูลข่าวสาร

3.งานเสนอโครงการ การเปิดประมูล การยื่นแบบ ยื่นซองประกวดราคา

4.งานการเสียภาษีอากรและการตอบรับเมื่อยื่นแบบรวมทั้งการตัดโอนรายการทางการเงินระหว่างภาครัฐกับเอกชน

5.งานบริการในแบบดิจิตอลไลบรารี ข้อมูลเทคนิคและข้อมูลบริการที่เป็นประโยชน์ เช่น ข้อมูลสิทธิบัตร ข้อมูลมาตรฐาน ข้อมูลเพื่อประกอบการ ทางธุรกิจบาง อย่าง

6.การกรอกแบบฟอร์มและการลงทะเบียนต่าง ๆ

7.ข้อมูลแผนที่ ถนน การคมนาคม ป่าไม้ ข้อมูลทางการแพทย์ ตลอดจนข้อมูลการศึกษาและการทำงาน

8.ข้อมูลบริการที่รัฐสำรวจ เช่น สถิติ

9.ข้อมูลทางกฎหมายที่จำเป็นต่อธุรกิจ

10.งานที่รัฐให้บริการหลัก เป็นงานบริการสาธารณะต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ เช่น ระบบสาธารณูปโภค

 โมเดลความสัมพันธ์ในรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ดังที่กล่าวว่าความสัมพันธ์ภายใต้รัฐอิเล็กทรอนิกส์ มีรูปแบบพื้นฐานมาจาก B2G หรืออี-คอมเมิร์ช และ B2B ที่เป็นธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-บิสซิเนส โดยขยายฐานความสัมพันธ์เข้าสู่ภาครัฐ ทั้งด้านรัฐกับรัฐ (G2G) รัฐกับธุรกิจเอกชน (B2G) และรัฐกับประชาชน (G2C) หากจะพิจารณาความสัมพันธ์ในโมเดลดังกล่าวจะเห็นได้ชัดว่ามีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ส่งผ่าน และแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน ดังรูป

แต่เมื่อโมเดลเปลี่ยนจากลูกค้ากับร้านค้ามาเป็น B2B หรือ G2G ลักษณะการค้าเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันแบบถึงกัน อย่างอัตโนมัติ ดังนั้นจึงต้องหาตัวกลางหรือวิธีควบคุมข้อมูล เพื่อแปลงระบบข้อมูลให้เข้ากัน เช่น บริษัท ก. ต้องการส่งใบสั่งซื้อ (PO) ไปยังบริษัท ข. ซึ่งบริษัท ข. จะรับใบสั่งซื้อที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีนี้สามารถดำเนินการให้ได้อย่างอัตโนมัติหรือบริษัท ข. ต้องการส่งเอกสารโต้ตอบ เช่น ส่งใบ เสนอราคาก็สามารถส่งกลับมาให้ได้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันสามารถกระทำในรูปแบบ Application to Application เพื่อให้ระบบดำเนินการ ได้อย่างอัตโนมัติ

Business to Government(B2G) 

การสร้างระบบให้รัฐบาลติดต่อธุรกิจผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นการประมูลออนไลน์ (Electronic Auction)การเสียภาษีออนไลน์ (Electronic Tax)

รูปแบบการค้าของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์       

รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue)

– ร้านค้าปลีก (E-Tailer)

– การประมูลสินค้า (Auction) เช่น airasia.com, nokair.co.th,eBay.com, amazon.com

– การประกาศขายสินค้า (Web Board) เช่น pantip.com, sanook.com

– ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ( E-Marketplace) เช่น www.foodmarketexchange.com

 รัฐกับธุรกิจ “ขนบ” ใหม่สไตล์ “B2G” อ้างอิงจาก  จับกระแส : เบ็ญจวรรณ เผ่าจินดามุข /benjawan_p@nationgroup.com  กรุงเทพธุรกิจ  วันที่  25  สิงหาคม 2546               โมเดลธุรกิจบนพื้นที่ New Economy อาจถูกจำแนกไว้ 2 ประเภทหลักๆ ระหว่าง B2C (Business to Consumer) หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น ระหว่าง ธุรกิจกับผู้บริโภค โดยมีโมเดล B2B (Business to Business) ประเภทค้าส่ง โฮลเซลส์ เป็นอีกขาหนึ่งที่ขนานกันไป แต่ทั้งสองรูปแบบนี้ เป็นอันต้องชิดซ้าย…. ในยุครัฐบาลซีอีโอ ซึ่งมี G-Goverment เป็นแกนกลาง ของกิจกรรมเศรษฐกิจทั้งมวล                 กิจกรรมอันหวือหวาที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยภายใต้บรรยากาศที่มีรัฐบาลเป็นหัวขบวนไปเสียทุกเรื่องเช่นที่ว่านี้ นิยามกันให้ชัดต้องแบ่งออกเป็น B2G และ G2C B2G ก็คือการทำธุรกิจร่วมกันระหว่างภาคเอกชนกับรัฐบาล เพื่อเป็นกลไกให้ รัฐบาลสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับภาคประชาชน หรือ G2C ได้อย่างคล่องตัว …..เช่นรัฐบาลคิดโปรเจคทำการตลาดด้วยการสร้างกระแสฮือฮาบ่มเพาะดีมานด์จนพุ่งกระฉูด จากนั้นก็ดึงธุรกิจเอกชนเข้ามารับงานจากรัฐบาล                   แม้ว่า G2C จะเกิดขึ้นอย่างคึกคัก มีการประมูลหรือให้งานภาคเอกชนครึกครื้น แต่โดยภาพใหญ่ที่ออกมากลับผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับนโยบาย “ป็อปปูลิสต์” เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกส่งต่อถึงมือประชาชนโดยรัฐทั้งสิ้น                        โมเดลที่ว่านี้เริ่มปรากฏเค้าลางตั้งแต่กลางเทอมรัฐบาลซีอีโอ จากที่เคยมุ่งตรงไปสู่รากหญ้าโดยอัดเงินจากภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเช่นเดิม ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณ และอาจด้วยเหตุผลฝนตกไม่ไปถึงภาคอุตสาหกรรม กิจกรรมเศรษฐกิจแบบ Hybrid ครึ่งบกครึ่งน้ำ ประเภทรัฐครึ่งเอกชนครึ่งจึงเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดนำโดยสารพัดโครงการเอื้ออาทร                       รัฐเป็นผู้ทำการตลาดอสังหาริมทรัพย์ระดับล่าง ดันดีมานด์พุ่งลิ่ว และดึงเอกชนเข้ามาประมูลสร้าง และเข้าร่วมโครงการ จากนั้นรัฐก็ได้โครงการ “บ้านเอื้ออาทร” ที่เจ้าตำรับป็อปปูลิสต์เองก็คงนึกไม่ถึง                    เช่นเดียวกับกระทรวงไอซีที ที่บูมตลาดคอมพิวเตอร์ โดยเจรจากับเอกชนบางราย และทำให้เอกชนอีกหลายรายวิ่งกันเท้าพลิก ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ไปจนถึงระบบปฏิบัติการ เพื่อกระโจนเข้าร่วมโครงการกับเขาบ้าง และรัฐบาลก็ได้โครงการ “คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร” มาส่งถึงมือประชาชน ลักษณะเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นกับแท๊กซี่เอื้ออาทร ประกันเอื้ออาทร จักรยานเอื้ออาทร             ด้วยสุดยอดบิสซิเนสโมเดลที่ว่านี้ รัฐประสบความสำเร็จในการสืบทอดนโยบาย “ป็อปปูลิสต์” ระดับแอดวานซ์ที่ก้าวข้ามไปถึงขั้นสร้างโอกาสเข้าถึง “ทุน” ของประชาชน และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในแต่ละเซคเตอร์ ก็ปรีดิ์เปรมกับโอกาสที่ลอยมาจากการทำการตลาดโดยรัฐ                     อสังหาริมทรัพย์ได้พ่วงด้วยอุตสาหกรรมก่อสร้างทั้งระบบ ธุรกิจไอทีก็ได้ไล่ไปถึงเซคเตอร์รถยนต์ และประกันชีวิต แม้แต่ระบบธนาคารก็ยังได้จากการกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยด้านการบริโภค ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจที่ถูกกระตุ้นจากฟากดีมานด์ ก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วโดยไร้ข้อสงสัย เก็บเกี่ยวผลประโยชน์กันได้ถ้วนหน้า หากพิจารณาแค่ระยะสั้น แต่กระบวนการ B2G ที่อยู่เบื้องหลัง ป็อปปูลิสต์ เหล่านี้ แทบไม่เคยถูกตั้งข้อสงสัยเลยว่าแต่ละ “ดีล” เจรจาอย่างไร และเหตุใดจึงจบลงที่ตัวเลขดังกล่าว ระหว่าง G รัฐบาล และ B-Business รู้กันแค่ 2 คน                  ไม่มีการตั้งคำถาม ไม่มีประกาศที่เป็น TORชัดเจน ไม่มีระบบตรวจสอบ …เพราะทุกฝ่ายต่างยอมรับว่า การเล่นบทนักธุรกิจของรัฐบาลซีอีโอได้ผล และสมประโยชน์ถ้วนหน้าและแม้ว่าโครงการเอื้ออาทรจะห่างสายตาไปบ้าง อาจด้วยหมดมุข คิดไม่ออก แต่ B2G ที่ทำให้ภาคธุรกิจเอกชนต้องสยบแทบเท้ารัฐบาลไม่ได้จบลงที่เท่านั้น                  ความแก่กล้าในการเล่นบท “ผู้นำธุรกิจ” ของรัฐเริ่มกระจายออกมายังโซนนโยบายเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม ด้วยงบประมาณที่นอนแช่อยู่ว่า 1.6 หมื่นล้านบาท โดยมีโจทย์ใหญ่อยู่ที่5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย                  ในรอบเดือนเศษที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มากถึง 3.3พันล้านบาท เป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ด้านการแข่งขันใน 3 อุตสาหกรรม แฟชั่น ท่องเที่ยว และอาหาร ผ่านโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น 1.8 พันล้านบาท โครงการบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) 1 พันล้านบาท และจัดตั้งบริษัทพันธมิตรอาหารไทย 500 ล้านบาท                   ลักษณะร่วมของทั้งสามโครงการคือ เป็นการทำธุรกิจโดยรัฐ และต่อเชื่อมกับภาคเอกชน ซึ่งทำให้ “รัฐ” มีอำนาจชี้ขาดไปถึงอานิสงส์ผลบุญที่เอกชนจะได้รับจากทั้ง 3 โครงการ

เศรษฐกิจฟื้นนักธุรกิจต่างมะรุมมะตุ้มที่จะขอเอี่ยว “ขาขึ้น” กับเขาบ้าง ใครๆ ก็อยากพลอยฟ้าพลอยฝนในยุคที่รัฐบาลเป็นพระเอก

        แต่บรรยากาศแบบนี้กลับทำให้เกิด “ขนบ” แบบใหม่ เป็นขนบที่เชิดชูความเข้มแข็งของรัฐบาล ขณะที่ภาคเอกชนกลับเสียงแผ่วเบาอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน              เรื่องราวของธุรกิจโดยรัฐ และโมเดลแบบ B2G เช่นที่ว่าน่าคิดยิ่ง ไม่ใช่แค่ วาระแอบแฝง และข้อสงสัยถึงปัญหาคอรัปชั่นที่อาจซ่อนตัวได้แนบเนียน แต่ยังหมายถึง ความอ่อนแอในเชิงการมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ              หลายนโยบายของรัฐได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องในระยะสั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าภาคธุรกิจจะไม่สามารถแสดงบทบาทในการให้มุมมองเพิ่มเติม ครบถ้วน รอบด้าน เพื่อร่วมสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาครัฐกำลังเล่นบทกำหนดชะตาธุรกิจเช่นในขณะนี้ เพียงเพราะกังวลถึงโอกาสที่จะสมประโยชน์ร่วมในรัฐบาลซีอีโอ ฟังเพลง กด puse กด play ฟังเลย

B2G-EMCS-Lux

ที่มา http://csmju.jowave.com/cs100_v2/lesson9-5.html – https://www.l3nr.org/posts/52084